To see the desired glossary, please select the language and then the field of expertise.

    Home
    • Thai
      • Computers: Software
        • Search
          • Term
            • ความเข้ากันได้ย้อนหลัง
          • Additional fields of expertise
          • Definition(s)
            • ในกรณีที่โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานโปรแกรมของโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าได้ Reference: Chandrakasem Rajabhat University, Computer department handrakasem Rajabhat University - by Kim Meyers
          • Example sentence(s)
            • ในกรณีที่โปรแกรมสามารถทำงานบนโปรเซสเซอร์ต่างรุ่นกันได้ จะเรียกว่าโปรเซสเซอร์ทั้ง 2 รุ่นมีความ Compatibility กัน และในกรณีที่โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานโปรแกรมของโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าได้ จะเรียกว่ามีความเข้ากันได้ย้อนหลัง (backward compatibility) ในปัจจุบันวิธีที่ทำให้โปรแกรมที่สร้างขึ้นจากโปรเซสเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ โดทำงานผ่าน ตัวจำลองซอฟแวร์ (soft emulator) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำให้ซีพียูแบบหนึ่งจำลองตัวเองให้เป็นซีพียูแบบอื่น เช่น เครื่องแมคอินทอชสามารถถูกจำลองให้ทำงานเสมือนเป็นเครื่องไอบีเอ็มพีซี นั่นคือสามารถนำโปรแกรมที่สร้างขึ้นจากเครื่องไอบีเอ็มพีซีมาทำงานบนเครื่องแมคอินทอชได้ทันที แต่การใช้วิธีดังกล่าวนี้มีข้อเสียที่สำคัญคือจะทำงานได้ช้ามาก - Srinakharinwirot University by Kim Meyers
            • ความเข้ากันได้ (Compatibility) โปรแกรมสามารถทำงานบนโปรเซสเซอร์ต่างรุ่นกันได้ จะเรียกว่าโปรเซสเซอร์ทั้ง 2 รุ่นมีความ compatibility กัน และในกรณีที่โปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานโปรแกรมของโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนหน้าได้ จะเรียกว่ามีความเข้ากันได้ย้อนหลัง (backward compatibility) Reference: Mengrai Maharaj Wittayakom School, Information Technology Center - Mengrai Maharaj Wittayakom School by Kim Meyers
            • x86-64 เป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตที่ AMD พัฒนาขึ้นมาสำหรับซีพียูในตระกูล Hammer ได้พัฒนาขึ้นมาจากสถาปัตยกรรม x86-32 ของซีพียูที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบที่ต่างจากสถาปัตยกรรม IA64 ของซีพียู Itanium ของ Intel อย่างมาก ดังนั้นซีพียูที่ใช้สถาปัตยกรรม x86-64 จึงยังสามารถใช้กับซอฟต์แวร์ 32 บิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้โดยไม่ต้องแก้ไขอะไร ทุกวันนี้มูลค่าโดยรวมของซอฟต์แวร์นั้นมากกว่าฮาร์ดแวร์มากและองค์กรธุรกิจทั้งหลายต่างก็ ลงทุนไปกับซอฟต์แวร์เป็นเงินมหาศาล ซอฟต์แวร์เดิมเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับซีพียู x86-64 ได้โดยประสิทธิภาพในการทำงานไม่ได้ลดลงเลยซึ่งต่างจากซีพียู Itanium ที่ต้องจำลอง ( emulate) ชุดคำสั่ง x86-32 ดังนั้นจึงนำซอฟต์แวร์เดิมมาใช้กับซีพียู Hammer ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้พัฒนาคอมไพล์ โปรแกรมของพวกเขาใหม่ให้เข้ากับระบบใหม่ หรือสรุปได้ว่า Hammer นั้นนำข้อดีของซีพียูในปัจจุบันมาใช้ทำให้ใช้กับซอฟต์แวร์เก่าได้และเพิ่มความสามารถในการประมวลผลใหม่ๆ เข้าไป เพื่อให้ซอฟต์แวร์ที่จะผลิตออกมาในอนาคตใช้ความสามารถใหม่เหล่านี้อีกที ในขณะที่วิถีทางของ Intel คือการพยายามบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือหน่วยความจำชนิด Rambus, การใช้ซ็อกเก็ตซีพียูหลายๆ แบบในช่วงเวลาไล่ๆ กัน) แต่ AMD พยายามยึดติดกับความเข้ากันได้กับระบบเก่า (backward compatibility) Reference: Chiang Mai University, Faculty of Science - Chiang Mai University by Kim Meyers
          • Related KudoZ question
  • Compare this term in: Serbian, Croatian, Albanian, Arabic, Bulgarian, Catalan, Czech, Chinese, Danish, German, Dutch, Greek, English, Spanish, French, Hindi, Hungarian, Italian, Japanese, Korean, Latvian, Lithuanian, Macedonian, Norwegian, Polish, Portuguese, Romanian, Russian, Slovak, Slovenian, Swedish, Turkish, Ukrainian

The glossary compiled from Glossary-building KudoZ is made available openly under the Creative Commons "By" license (v3.0). By submitting this form, you agree to make your contribution available to others under the terms of that license.

Creative Commons License